เมื่อลูกน้อย...ไม่สบาย
คงไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกน้อยเจ็บป่วย หรือไม่สบาย แต่บางครั้งการเจ็บป่วย ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นหากลูกน้อยไม่สบาย คุณพ่อคุณแม่ควรจะเฝ้าสังเกตอาการ เพราะเด็กอ่อนไม่สามารถบอกอาการให้เราทราบได้ เมื่อลูกน้อยไม่สบายให้คุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติดังนี้ค่ะ
SEE A DOCTOR!
เมื่อสังเกตว่าลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ ให้นำไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยดูว่าลูกน้อยเป็นอะไร ดังนี้ค่ะ
• สะอื้นหรือร้องไห้ ไม่ยอมทานอาหาร
• สีหน้าซีดเซียว ซึม
• ต้องการอยู่ติดกับคุณแม่หรือคุณพ่อตลอดเวลา
• เจ็บคอ คอแดง มีผื่นขึ้นตามตัว
• ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ หรือขากรรไกรโต
• อาเจียน หรือท้องเสีย
SEE A DOCTOR NOW!!
หากลูกน้อยมีอาการเหล่านี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ
• ลูกหายใจลำบาก หมดสติ หรือหยุดหายใจ
• ลูกมีอุณหภูมิต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส
• ลูกมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส เกิน 3 วัน หรือมีไข้สูงตลอดเวลา
• มีอาการชัก
• ลูกได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ มีอาการหน้ามืด คลื่นไส้ หรืออาเจียน
• ลูกมีอาการอาเจียนต่อเนื่องมามากกว่า 6 ชั่วโมง และรุนแรง
• ลูกมีอาการไม่อยากอาหาร หรือไม่ทานอาหารผิดวิสัยปกติ
• ซึมผิดปกติ หงุดหงิดง่าย
• มีจุดเลือดออก หรือผื่นแดงคล้ำ
• มีการพลัดตก และหมดสติ
เมื่อคุณพ่อคุณแม่รู้ว่าลูกน้อยมีอาการป่วย และต้องการการรักษา เราต้องรีบพาลูกไปโรงพยาบาลให้ถึงมือหมอให้เร็วที่สุด แต่การตรวจสอบอาการป่วยเบื้องต้นของลูกน้อย ก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้แพทย์ผู้รักษาได้ทราบข้อมูลที่อาจจำเป็นต่อการรักษาลูกน้อย ซึ่งวิธีตรวจสอบอาการป่วยเบื้องต้นของลูกน้อยมีดังนี้ค่ะ
ตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายของลูกน้อย
คุณพ่อคุณแม่สามารถวัดอุณหภูมิร่างกายลูกน้อยได้ด้วยเทอร์โมมิเตอร์ และวัดอุณหภูมิซ้ำอีกครั้งหลังจากวัดครั้งแรกประมาณ 20 นาที โดยปกติเด็กจะมีอุณหภูมิร่างกายที่ 36-37 องศาเซลเซียสถ้าลูกมีอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.7 องศาเซลเซียสขึ้นไป แสดงว่าลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีไข้แล้วค่ะ
ตรวจการตอบสนองของลูกน้อย
1. ลองพูดกับลูก ดูว่าเขามีการหันมาสบตาคุณพ่อคุณแม่หรือไม่ หรือเขาตอบสนองต่อเสียงของคุณพ่อคุณแม่หรือไม เช่น การที่เขาหันหน้ามาหาตามเสียงเรียกลูกน้อยดูสับสน หรือไม่มีการตอบสนองใดๆ เลย
2. ลูกขยับตัวไหม โดยแตะที่เท้าของลูกเบาๆ ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถทราบได้ว่า ลูกมีการตอบสนองต่อการสัมผัสหรือไม่
ตรวจอัตราการหายใจของลูกน้อย
อายุ
|
อัตราการเต้นของหัวใจ ครั้ง/นาที
|
น้อยกว่า 2 เดือน
|
50-60 (หรือน้อยกว่า)
|
2-12 เดือน
|
40-50 (หรือน้อยกว่า
|
1-2 ปี
|
30 (หรือน้อยกว่า)
|
ตรวจสอบชีพจรของลูกน้อย
คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางนับชีพจรของลูกน้อยได้โดยใช้เวลาเพียง 15 วินาที แล้วจึงนำค่าที่ได้มาคูณ 4 ก็จะได้ค่าชีพจรของลูกน้อยต่อนาทีค่ะ
อายุ
|
อัตราการเต้นของหัวใจ ครั้ง/นาที
|
น้อยกว่า 2 เดือน
|
100-160
|
มากกว่า 1 ปี
|
100-120
|
แหล่งที่มา นิตยสาร First Year of Life
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น